เชื่อไหมครับว่า

“ใครๆก็เรียนหมอได้”

ถ้าคุณได้เห็นโอกาสที่เปิดกว้างรอคุณอยู่ คุณจะพบว่า ระบบการศึกษาของไทยสร้างความเชื่อผิดๆให้เราอย่างนึง เกี่ยวกับการจะเป็นหมอครับ

“ถ้าอยากเป็นหมอ ต้องตั้งใจเรียนตั้งแต่เด็ก”

แน่นอน เรารู้ว่าแพทย์เป็นอาชีพที่มีเกียรติ คุณจะรักษาคนอื่นได้ คุณต้องมีความรู้เป็นอย่างดี ต้องมีความรับผิดชอบ และต้องเสียสละเพื่อคนอื่น

ไม่รู้ว่าด้วยเหตุผลนี้รึเปล่า ทำให้การสอบเข้าเรียนแพทย์ในไทย คัดแต่เฉพาะนักเรียนแพทย์ที่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นอัจฉริยะระดับประเทศกันเลยทีเดียว

ที่สำคัญกว่านั้นคือ นักเรียนแพทย์ที่จะได้เรียนแพทย์จริงๆ เหลืออยู่แต่คนที่คิดวางแผนมาเป็นระยะยาวแล้ว

ความจริงก็คือ ถ้าอยากเรียนแพทย์ต้องวางแผนมาตั้งแต่อายุประมาณ 14 – 15 โน่นเลยครับ

ช่วง ม.ต้น แบบนั้น ลองนึกย้อนกลับไปสิครับว่าคุณทำอะไรอยู่ คุณคิดอะไร กำลังสนใจเรื่องอะไร

ทีนี้ ลองย้อนกลับมามองดูตัวเองในเวลานี้ครับ ว่าเปลี่ยนไปจากเดิมแค่ไหน

ความจริงก็คือ ความคิดเราเปลี่ยนตลอดเวลาถูกไหมครับ พอเราโตขึ้นอีกนิดก็มีมุมมองใหม่ๆต่อเรื่องเดิมๆอีกหน่อย และเป็นอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าเราจะแก่โน่นเลย

แต่ระบบการศึกษาแบบนี้ บอกคุณว่า ตอนคุณอายุ 14 – 15 เนี่ย คุณต้องรู้แล้วนะ ว่าอยากจะเป็นอะไร ยิ่งถ้าบอกว่าอยากจะเป็นหมอ ต้องขยันเรียน อดทนเต็มที่ตั้งแต่ตอนนั้นเป็นไปเลย ถ้าไม่งั้นก็หมดสิทธิ์

ถ้าคุณไม่เริ่มขยัน คุณก็จะเรียนสายวิทย์-คณิตไม่ได้ ถ้าไม่ได้เรียนสายวิทย์ก็เรียนหมอไม่ได้

พอผ่านอุปสรรคแรกมาได้ ขึ้นมาถึงชีวิต ม.ปลาย คุณก็ต้องขยันให้หนักกว่าเดิมอีก

ต้องทำคะแนนให้ได้ดีทุกวิชา เพราะทุกๆคะแนนจะถูกนำไปนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของการคัดเลือกเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย

ต้องเรียนพิเศษข้างนอกในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อให้ได้ความรู้ที่มากกว่าในห้องเรียน เพราะเวลาสอบ Entrance มันต้องแข่งกับเด็กทั่วประเทศ และถ้าอยากติดคณะแพทย์ คุณก็ต้องเก่งกว่าคนเป็นหมื่นๆ ที่จริงแล้วคุณต้องเก่งกว่าคนอีกกว่า 99% ในสนามสอบ

ดังนั้น การเรียนแพทย์สำหรับนักเรียนไทย จึงดูเหมือนเป็นทางเลือกสำหรับคนกลุ่มเล็กๆที่ได้เตรียมตัวมาอย่างดี และฝันว่าฉันจะเป็นหมอมาตั้งแต่เด็กๆเท่านั้น

ถ้าพึ่งจะมาระลึกได้ว่าอยากเป็นหมอ ตอนอายุ 17 – 18 นี่ไม่ทันละ

ถึงจะมาหักโหมลุยอ่านหนังสือ และตั้งใจเรียนในเวลาที่เหลือ ก็ยังแทบจะเป็นไปไม่ได้ หรือในกรณีที่คุณไม่ได้เรียนสายวิทย์มันก็คือเป็นไปไม่ได้เลยล่ะครับ

นักเรียนไทยมีความเชื่อผิดๆอย่างนี้ เนื่องจากพวกเขายังไม่ได้รู้จักกับโอกาสที่มีอยู่รอบตัว

โอกาสการเรียนแพทย์ที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน

และผมกำลังจะเล่าถึงโอกาสนี้ให้ฟัง แล้วคุณจะเข้าใจว่าทำไม “ใครๆก็เป็นหมอได้”

น้าหน่อง น้าของผมเป็นเด็กเกเรครับ

คือ จริงๆก็ไม่ได้ถึงกับเกเรหรอกครับ แต่เอาเป็นว่าอย่ามาคุยกันเรื่องเรียน

ในช่วงวัยเรียนตั้งแต่ประถม ม.ต้น ม.ปลาย คือ หนีเรียน วิ่งเล่น เตะบอล ชีวิตมีอยู่แค่ประมาณนี้

คุณยายของผมเป็นครูเสียด้วย น้าหน่องโดนตีเป็นประจำ (สมัยก่อนเด็กดื้อโดนตีเป็นเรื่องปกติสุดๆ)

ทีนี้ พอมันถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในการเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นจุดตัดสินจุดแรกแล้วว่า โตขึ้นจะทำงานอะไร คุณยายก็กังวลมาก

คือ ลูกโคตรจะขี้เกียจ ไม่เอาไหนสุดๆเลย แบบนี้จะไปคิดถึงอนาคตของตัวเองได้ยังไงกัน ยายกังวลมากแต่ก็ไม่รู้จะทำยังไง

สุดท้ายน้าผมก็สอบ Entrance ไม่ติด

ด้วยชีวิตที่งงๆ ไม่รู้จะเอายังไง ก็ไปเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ซึ่งก็มีสภาพเหมือนเดิมครับ เรียนห่วยสุด ตกกระจาย (เผื่อใครไม่ทราบ มหาวิทยาลัยรามคำแหงเข้าเรียนง่าย แต่จบยากมากนะครับ คุณต้องบังคับตัวเองสุดๆ ขยันอ่านหนังสือ และศึกษาด้วยตัวเอง เพราะไม่มีใครมาบังคับให้เข้าเรียนแล้ว)

ในตอนนั้น บังเอิญว่า คุณยายไปได้ยินเรื่องราวของเด็กนักเรียนไทยที่ไปเรียนทันตแพทย์ที่ฟิลิปปินส์มา และเห็นว่าใครก็ไปสมัครเรียนได้ ไม่ได้มีเงื่อนไขอย่างเช่น ต้องเรียนสายวิทย์ ต้องได้เกรดเฉลี่ยดี หรือต้องสอบ Entrance ให้ผ่าน

ยายจึงตัดสินใจพูดคุย (พร้อมบังคับ) ให้น้าหน่องไปเรียนทันตแพทย์ที่ฟิลิปปินส์

ผมเชื่อแบบนี้นะครับ ว่าเด็กที่ไม่ได้ตั้งใจเรียนเท่าไหร่ ชีวิตดูเหมือนจะไร้แก่นสาร เอาแต่เล่นไปวันๆ แท้ที่จริงแล้ว พวกเขาไม่เจอสิ่งที่ชอบ ที่อยากศึกษา และบางทีพวกเขาก็ต้องการคนชี้นำ หรือบังคับให้ลองทำให้สิ่งใหม่ๆดู

น้าผมก็แบบนี้แหละครับ พอโดนยายบังคับให้ไปเรียนทันตแพทย์ที่ฟิลิปปินส์ก็ไปโดยดี เพราะไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร จะทำให้ทำอะไรก็ทำได้หมดนั่นแหละ

เรื่องราวตอนที่น้าไปเรียน ผมไม่ทราบรายละเอียดเท่าไหร่ แต่แน่ใจว่ามันคงหนักหนาพอสมควร เพราะจากเด็กเกเรต้องไปเรียนหมอ ซึ่งยากโคตรๆ กว่าจะจบมาได้ก็คงไม่ใช่เล่นๆเหมือนกัน

มิหนำซ้ำ พอจบมาแล้วกว่าจะสอบใบประกอบวิชาชีพผ่าน ล่อเข้าไปหลายต่อหลายรอบ

แต่รู้อะไรไหมครับ ทุกวันนี้น้าหน่องเป็นทันตแพทย์เชี่ยวชาญด้านการจัดฟัน ที่รับคนไข้ต่อวันเกิน 50 คนทุกวัน บางวันถึงระดับ 100 คนเลยด้วย

คือ แกไม่ได้มีบุคคลิกของความเป็นหมอเท่าไหร่นักอ่ะครับ แกคุยเล่นสนุกสนานกับคนไข้อยู่เสมอ แต่ฝีมือไม่เป็นสองรองใคร เพราะเป็นสายลุย เน้นรักษาคนไข้ให้เยอะ ฝึกฝีมืออยู่ตลอดตั้งแต่เรียนที่ฟิลิปปินส์แล้ว คนไข้รักแกมากเลยครับ

จากเด็กเกเรกลายมาเป็นทันตแพทย์ที่ประสบความสำเร็จได้ ต้องผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก และมีปัจจัยหลายอย่าง

แต่อย่างแรกเลยคือ

แกได้พบกับโอกาสครับ

การเรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์ ทำให้ใครๆก็สามารถเป็นหมอได้ เพราะระบบการศึกษาของที่โน่นเปิดโอกาสให้คนทุกคนครับ

→ คุณอาจจะเป็นนักเรียน ม.ปลายที่อยากเรียนหมออยู่แล้ว แต่สอบแพทย์ที่ไทยไม่ติด และไม่อยากจะต้องรอสอบใหม่โดยที่ก็ไม่รู้ว่าสอบอีกครั้งจะติดไหม

→ คุณอาจจะเป็นนักเรียน ม.ปลายที่พึ่งมานึกถึงอนาคต และอยากเป็นหมอเพราะเป็นอาชีพที่ดี มั่นคง แต่บังเอิญเลือกเรียนสายศิลป์มาตั้งแต่ ม.4 แล้ว

→ คุณอาจจะเป็นนักเรียน ม.ปลายที่อะไรก็เรียนได้อ่ะแหละ แต่ไม่รู้เลยว่าอยากจะเรียนอะไร อยากจะเป็นอะไร และก็แอบกังวลกับอนาคตว่าจะหางานที่ดีทำได้ไหม

→ คุณอาจจะเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ที่เรียนในคณะหนึ่งไปซักพักแล้วรู้สึกว่าไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองสนใจ และไม่อยากจะทู่ซี้เรียนต่อไปจนจบ

→ คุณอาจจะเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยที่กำลังจะจบ หรือพึ่งเรียนจบ และได้งานที่คุณมองแล้วว่าไม่อยากฝากอนาคตไว้ในระยะยาว

→ คุณอาจจะทำงานมาแล้วระยะหนึ่ง และค้นพบว่างานของคุณย่ำอยู่กับที่ คุณต้องการงานที่ดีกว่านี้ และมั่นคงกว่านี้

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็น ตัวอย่างจริง  ของนักเรียนแพทย์ส่วนหนึ่งที่ตัดสินใจไปเรียนที่ฟิลิปปินส์มาแล้วครับ

แล้วทำไมเขาถึงต้องเลือกเรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์กันล่ะ?

ผมจะไล่ให้ฟังทีละเรื่องครับ

ข้อแรก คุณไม่ต้องเรียนสายวิทย์มาก็เรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์ได้ ✅

ระบบการศึกษาของฟิลิปปินส์มีรากฐานมาจากสหรัฐอเมริกาครับ

คนที่จะเรียนแพทย์ได้ จะต้องจบปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์ใดๆก็ได้มาก่อน แล้วจึงจะเริ่มสมัครเรียนแพทย์ได้ ซึ่งใช้เวลาเรียน 4 ปีจบ

ไม่มีการมาสนใจว่าชีวิต ม.ปลายคุณจะเป็นยังไง ไม่มีสายวิทย์-สายศิลป์อะไรทั้งนั้น

เอาล่ะ ผมว่าคุณคงจะมีคำถามตามมาติดๆอีกหลายข้อ ผมจะไล่ไปทีละเรื่องนะครับ

เรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์ต้องใช้เวลากี่ปี?

พูดถึงนักเรียนที่เรียนจบชั้น ม.6 หรือกลุ่มที่เริ่มเรียน ป.ตรีไปแล้วแต่ยังไม่จบ อยากซิ่วก่อนนะครับ

โอเค ระบบการศึกษาแบบนี้ คุณต้องเรียนจบปริญญาตรีก่อนถึงจะเรียนแพทย์ได้ ดังนั้นคุณคงกำลังคิดว่า การเรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์ต้องใช้เวลาทั้งสิ้น 8 ปี (4 ปี ป.ตรี กับอีก 4.ปี แพทย์) ใช่ไหมครับ?

คำตอบคือ ถูก และ ผิด ครับ

ที่ถูกก็คือ ความจริงระบบมันเป็นแบบนั้น และนักเรียนแพทย์ชาวฟิลิปปินส์ก็ต้องปฏิบัติตามนั้นทุกคน นั่นคือพอจบ ม.ปลายแล้ว ต้องเข้าเรียนคณะที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้จบ ป.ตรี (4 ปี) แล้วถึงจะสมัครเรียนต่อแพทย์ได้

ที่ผิดก็คือ มันมีข้อยกเว้นให้กับนักเรียนต่างชาติ   ครับ

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า มหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์มีมหาวิทยาลัยรัฐฯ และเอกชนเหมือนบ้านเรา

ในมหาวิทยาลัยรัฐฯ คนก็จะสอบแข่งขันกันทั่วประเทศ เหมือนที่ไทยเลยครับ ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนก็จะเปิดรับนักเรียนทั่วๆไป

แต่ที่ต่างจากไทย คือ มหาวิทยาลัยเอกชนของฟิลิปปินส์มีจำนวนเยอะกว่ามหาวิทยาลัยเอกชนของไทยมาก มากแบบ มากๆๆๆ เพราะว่าประชากรบ้านเขามีมากกว่า 100 ล้านคนครับ

สิ่งที่มหาวิทยาลัยเอกชนต้องทำก็คือ ต้องอยู่รอดในเชิงธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอกชนจึงพยายามดึงดูดนักเรียนต่างชาติเข้ามาเรียน จนปัจจุบันมีนักเรียนต่างชาติไปเรียนมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์เยอะมาก ทั้งจากอินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ฯลฯ

พอมีนักเรียนต่างชาติเยอะเข้า โรงเรียนแพทย์ก็สามารถที่จะเปิดคอร์สเฉพาะให้ได้ โดยมีการสร้างคอร์ส “นักเรียนเตรียมแพทย์” หรือ Pre-Med ขึ้นมา

คอร์สนี้เป็นคอร์สเฉพาะของนักเรียนต่างชาติครับ ไม่มีนักเรียนฟิลิปปินส์เรียน

คอร์สนี้เปรียบได้กับการเรียนปริญญาตรีของคณะวิทยาศาสตร์ทั่วไป แต่จะเรียนเฉพาะวิชาที่จะเกี่ยวข้องกับการเรียนแพทย์ทำให้ระยะเวลาเรียนเหลือเพียง 2 ปี

ดังนั้น การเรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์ตั้งแต่ต้นจนจบ จะใช้เวลาเรียน 6 ปี แบ่งเป็นการเรียนเตรียมแพทย์ 2 ปี และแพทย์อีก 4 ปี

เท่ากับการเรียนแพทย์ที่ไทยเลยครับ

คราวนี้มาพูดถึง คนที่เรียน ป.ตรีจบแล้วกันบ้าง กลุ่มนี้ยังแบ่งย่อยได้อีก 2 กลุ่ม

ถ้าเรียนจบ ป.ตรี คณะสายวิทยาศาสตร์ ต้องเรียนกี่ปี?

แบบนี้ ตรงตามเงื่อนไขของระบบการศึกษาที่ฟิลิปปินส์ทุกอย่างเลยครับ คือ จบ ป.ตรีก่อน ดังนั้นตอนสั้นๆเลยคือ เรียน 4 ปีจบ ครับ

ถ้าเรียนจบ ป.ตรี คณะสายอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้อง และไม่ได้เรียนวิทยาศาสตร์ซักตัวเลย ต้องเรียนกี่ปีจบ?

กลุ่มนี้จะต้องเรียนวิชาพื้นฐานที่เกี่ยวข้างให้มีหน่วยกิตครบตรงเงื่อนไขเสียก่อนจึงจะสมัครเข้าเรียนแพทย์ได้ครับ วิชาที่ว่าก็คือ…

  • เคมี 10 หน่วยกิต
  • ชีวะ 15 หน่วยกิต
  • ฟิสิกซ์ 5 หน่วยกิต
  • เลข 9 หน่วยกิต

ใครยังเรียนอะไรไม่ครบก็ไปลงเรียนให้ครบ เท่านั้นเองครับ ซึ่งจะใช้เวลาเรียนประมาณ 1 – 2 เทอม (คือ ในความเป็นจริงมันขึ้นอยู่กับแต่ละที่นะครับ บางที่ก็อาจจะอนุโลมให้ ไม่ต้องเรียนเลย สมัครแพทย์เลยทันทีก็ยังได้)

ดังนั้น กลุ่มหลังนี้จะใช้เวลาเรียนประมาณ 4 – 5 ปีจบครับ

ข้อสอง จะเรียนแพทย์ได้ ไม่ต้องเรียนเก่งทุกวิชา ✅

ด้วยระบบการศึกษาแบบที่ผมเล่าให้ฟังไป คุณจะได้ไปเรียนเจาะเฉพาะวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนแพทย์ตรงๆเลย

มันไม่สำคัญว่าคุณจะเรียน ม.ต้นมายังไง เรียนม.ปลายสายไหน เรียนม.ปลายเกรดเฉลี่ยเท่าไหร่ ไม่เกี่ยวเลย

เพราะเรื่องพวกนั้นไม่ใช่เงื่อนไขของโรงเรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์

อย่างที่เล่าให้ฟังครับ ว่ามันมีมหาวิทยาลัยรัฐฯ และเอกชน ถ้าเป็นโรงเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัยรัฐฯ เรื่องเกรดเฉลี่ยต่างๆอาจจะสำคัญ แต่นักเรียนต่างชาติอย่างเราสิ่งสำคัญ คือ การเรียนจบมาแล้วสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ให้ได้ เพื่อกลับมาเป็นแพทย์ที่ไทยต่างหากล่ะ

การเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัยเอกชนช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายนี้ได้ง่ายกว่าด้วยซ้ำ

เพราะอะไรหรอครับ?

เพราะว่าการจะสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ แล้วกลับมาเป็นหมอที่ไทยได้นั้น คุณต้องไปเรียนในโรงเรียนแพทย์ ที่แพทยสภาไทยรับรอง

กระบวนการในการรับรองเป็นแบบนี้ครับ

เริ่มแรก ต้องมีการยื่นขอรับรองจากโรงเรียแพทย์มาที่แพทยสภาไทยก่อน ซึ่งอาจจะยื่นขอโดยนักเรียนที่ไปเรียน หรือยื่นขอโดยโรงเรียนแพทย์เองก็แล้วแต่

จากนั้นแพทยสภาจะทำการประเมินหลักสูตร รวมถึงเดินทางไปสำรวจโรงเรียนแพทย์ และโรงพยาบาล สำหรับให้นักเรียนแพทย์ฝึกงาน ว่ามีพื้นที่เพียงพอไหม อุปกรณ์ครบถ้วนไหม มีอาจารย์แพทย์คอยดูแลไหม

ถ้าทุกอย่างเรียบร้อย โรงเรียนแพทย์นั้นจึงจะได้รับการรับรอง

สาเหตุที่โรงเรียนแพทย์เอกชนยื่นขอรับรองจากแพทยสภาไทย มี 2 ข้อ หนึ่งคือ นักเรียนแพทย์ไทยที่ไปเรียนทำเรื่องยื่นเอง เพื่อให้ตนเรียนจบแล้วมีสิทธิ์สอบใบประกอบวิชาชีพ หรือ สองโรงเรียนแพทย์ยื่นขอรับรองเพราะจะได้มีนักเรียนแพทย์จากไทยไปเรียน นักเรียนแพทย์เหล่านี้ก็เหมือนลูกค้าที่สร้างรายได้ให้มหาวิทยาลัยนั่นเอง

แล้วโรงเรียนแพทย์ของรัฐบาล จะไปสนใจทำเรื่องพวกนี้ได้ยังไงกัน จริงไหมครับ

ความจริงแล้ว โรงเรียนแพทย์เอกชนของฟิลิปปินส์มีนักเรียนไทยเรื่อยมาเป็นเวลาหลายต่อหลายสิบปีแล้ว (ปัจจุบันน้าหน่องอายุ 50 กว่าปีแล้วอ่ะครับ แสดงว่าอย่างน้อยๆก็มีคนไทยไปเรียนฟิลิปปินส์เกิน 30 ปีมาแล้วแน่ๆ) ดังนั้น มันจึงมีโรงเรียนแพทย์ที่ได้รับการรับรองตลอดมา และก็จะเป็นแบบนี้ตลอดไปครับ

และพอเป็นกรณีของมหาวิทยาลัยเอกชนแบบนี้ เกรดเฉลี่ยไม่ต้องพูดถึงกันเลยครับ

ไม่ว่าคุณจะเคยใช้ชีวิตสนุกสนาน ทำกิจกรรม เล่นกีฬา สังสรรกับเพื่อนเต็มที่แค่ไหนในช่วงมัธยม จบผลการเรียนห่วยแตกแค่ไหน ถ้าคุณระลึกได้เมื่อไหร่ว่าอยากจะเป็นหมอ การเรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์เปิดโอกาสให้คุณอยู่ครับ

ข้อสาม จะเรียนแพทย์ฟิลิปปินส์ได้ ไม่ต้องบ้านรวย ✅

อย่างที่ได้อธิบายไปเมื่อกี้ครับ มหาวิทยาลัยที่นักเรียนแพทย์ไทยไปเรียน คือ มหาวิทยาลัยเอกชน และมหาวิทยาลัยเอกชนที่ฟิลิปปินส์มีเยอะมากๆๆๆๆ

มหาวิทยาลัยเอกชนทุกที่ อาจจะไม่ได้มีโรงเรียนแพทย์ แต่มหาวิทยาลัยเอกชนที่มีโรงเรียนแพทย์ก็ยังเยอะมากๆๆๆอยู่ดี

ตรรกพื้นฐานครับ พอมีทางเลือกหลายแห่ง ก็จะเกิดการแข่งขันขึ้น ถ้าคุณอยากอยู่ในตลาดได้ก็ไม่สามารถจะตั้งราคาสูงเกินไปได้

สิ่งนี้ไม่เกิดขึ้นกับโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทยครับ เรามีทางเลือกเป็นคณะแพทย์เอกชนในไทยแค่ 2 – 3 แห่ง ค่าเล่าเรียนตกปีละ 7 หลัก ค่าใช้จ่ายทั้งหมดคุณก็ซื้อบ้านหลังโตๆได้หลังนึงอ่ะครับ

ส่วนที่ฟิลิปปินส์ไม่ขนาดนั้นครับ โอเคล่ะว่า สุดท้ายมันก็คือมหาวิทยาลัยเอกชน มันก็คงไม่ราคาถูกเหมือนเรียนมหาวิทยาลัยรัฐฯที่บ้านเรา แต่ผมยกตัวอย่างให้เห็นคร่าวๆนะครับ ค่าเทอมของโรงเรียนแพทย์ Gullas College Of Medicine ที่ฟิลิปปินส์ตกเทอมละประมาณ 65,000 บาท คุณเรียนจนจบหลักสูตร 4 ปี ก็ยังไม่ถึง 7 หลักเลยครับ

ข้อสี่ จะเรียนแพทย์ฟิลิปปินส์ได้ (ยัง)ไม่ต้องเก่งภาษาอังกฤษมาก ✅

จริงๆแล้ว ภาษาอังกฤษสำคัญสำหรับการเรียนที่ฟิลิปปินส์มากครับ และเราสนับสนุนอย่างมากให้นักเรียนใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว เพื่อตัวนักเรียนเอง

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอกครับ

เชื่อไหมครับว่า ถ้าคุณเก่งภาษาอังกฤษ แล้วไปเรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์ คุณขยันอ่านหนังสือซักหน่อย คุณจะอยู่ในกลุ่มท็อปของชั้นเรียนเลยทีเดียว

ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า มีนักเรียนไทยไปเรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์ปีนึงเป็นจำนวนมากเลยครับ

เพราะฉะนั้น คุณจะมีเพื่อนและรุ่นพี่เป็นคนไทยอย่างแน่นอน

และโดยส่วนมาก คนไทยก็จะช่วยเหลือกัน พากันให้รอดไปได้ เพราะเรามีเป้าหมายร่วมกันคือ เรียนให้จบ สอบใบประกอบวิชาชีพให้ผ่าน กลับมาเป็นหมอที่บ้านเรา

เพราะฉะนั้น ที่ผมเห็นทุกปีก็จะมีนักเรียนคนไทยปี 1 ประมาณ 70 – 80% อ่ะครับ ที่ภาษาอังกฤษยังไม่แข็งแรง คือ พออ่าน ฟัง พูด เขียนได้ แต่ไม่ได้ถึงขนาดลุยจัดการทุกอย่างด้วยตัวคนเดียวได้ขนาดนั้น

แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติเลย คือ เมื่อผ่านไป 1 ปี คุณจะเก่งขึ้นอย่างเทียบไม่ติดกับปีก่อน

การเรียนภาษาที่ดีที่สุด คือ การใช้มันอย่างสม่ำเสมอในสถานการณ์จริง

ดังนั้น มันจะกลับกันด้วยซ้ำ คือไม่ใช่ว่าคุณจะต้องเก่งภาษาอังกฤษถึงจะไปเรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์ได้นะครับ แต่ถ้าคุณไปเรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์ นอกจากจะกลับมาเป็นแพทย์ที่ไทยได้แล้ว คุณยังได้ภาษาอังกฤษกลับมาเป็นของแถมด้วยครับ

ทำไมต้องเรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์? ทำไมไม่ประเทศอื่น?

เอาจริงๆ ผมไม่ทราบรายละเอียดการเรียนแพทย์ในประเทศอื่นเท่าไหร่นะครับ แต่นอกเหนือจากที่เล่าให้ฟังมา มีอยู่อีก 3 เรื่องที่เห็นชัดเจนว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้นักเรียนแพทย์เลือกไปเรียนที่ฟิลิปปินส์กัน

1. ภาษา

เมื่อนักเรียนแพทย์ขึ้นชั้นปีที่ 4 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของหลักสูตร นักเรียนแพทย์จะได้เป็นแพทย์ฝึกหัดในโรงพยาบาล และตรวจคนไข้จริง คนไข้ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองของประเทศนั้นๆ

โอเคล่ะว่า ตอนที่เรียนอาจจะเรียนเป็นภาษาอังกฤษ แต่ตอนตรวจคนไข้คุณจะต้องพูดภาษาพื้นเมืองของเขาให้ได้

บางประเทศ บังคับให้มีการสอบภาษาพื้นเมืองของเขาให้ได้ในระดับหนึ่ง ไม่งั้นจะไม่สามารถฝึกงานในโรงพยาบาลได้ เช่น ประเทศจีน

โรงเรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์จะได้เปรียบในเรื่องนี้ เพราะภาษาพื้นเมืองเขาใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักครับ มหาวิทยาลัยจะไม่มีการบังคับให้ต้องพูดภาษาฟิลิปปินส์ และคนไข้ที่มาก็จะพูดภาษาอังกฤษได้ หรือถ้าคนไข้เป็นคนแก่ที่ไม่มีความรู้ ก็มักจะมีลูกหลานที่พูดภาษาอังกฤษได้พามา นักเรียนแพทย์ต่างชาติก็จะสื่อสารได้ครับ

2. ค่าใช้จ่าย

อย่างที่ได้เล่าให้ฟังไปครับ ค่าเทอมเรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์นั้นไม่แรง ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยในเมืองใหญ่อย่าง Manila หรือ Cebu อาจจะแพงหน่อย ซึ่งใครไม่สะดวกก็สามารถเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยต่างจังหวัดได้

ค่าครองชีพก็ไม่ต่างจากไทยครับ นอกเหนือจากค่าเทอมก็จะมีค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าสาธารณูปโภค โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต เดินห้างบ้าง กินชานมบ้าง กินบุฟเฟ่ต์บ้าง ซึ่งไม่ได้แพงไปกว่าการอยู่ที่ไทยเลย ที่จริงบางอย่างถูกกว่าด้วยซ้ำ โดยเฉพาะถ้าอยู่ในต่างจังหวัดครับ

ค่าตั๋วเครื่องบินไป-กลับแต่ละรอบก็ไม่แพง ซึ่งนำมาสู่ข้อต่อไป

3. ได้กลับบ้านบ่อย

การเดินทางจากไทยไปฟิลิปปินส์ ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น

โดยปกตินักเรียนไทยจะกลับบ้านกันปีละ 1 – 2 ครั้ง (เป็นอย่างต่ำ) เพราะมันสามารถทำได้ครับ ค่าตั๋วเครื่องบินไม่แพง เดินทางแป้บเดียว กลับมาเยี่ยมบ้านให้หายคิดถึง กลับมากินอาหารไทยให้หายอยากซักหน่อย ค่อยกลับไปลุยกันต่อ สิ่งนี้เกิดขึ้นเป็นประจำครับ

ใครๆก็เรียนได้แบบนี้ ก็มีแต่แพทย์ไม่เก่งน่ะสิ?

อันนี้คุณกำลังเข้าใจผิดอยู่ครับ

“ใครๆก็เป็นหมอได้” เพราะโอกาสมันเปิดกว้างให้ทุกคนได้เรียนแพทย์ครับ

แต่ถ้าคุณไปเรียนแล้วไม่ทุ่มเทเต็มที่ คุณก็จะสอบตก เรียนซ้ำอยู่อย่างนั้น ปีแล้วปีเล่า

ถ้าคุณเป็นนักเรียนที่ไม่ตั้งใจเรียนมาก่อน สมัครเรียนแพทย์แล้วคิดว่าจะไม่ตั้งใจเรียนเหมือนเดิม ผมอยากบอกว่าคุณแทบจะไม่มีโอกาสเรียนจบเลยล่ะครับ

คิดดูนะครับ โรงเรียนแพทย์เขาได้เงินจากการที่คุณลงทะเบียนเรียน ถ้าคุณตก ก็ต้องลงทะเบียนซ้ำ เขาก็ยิ่งได้เงินจากคุณซ้ำไปเรื่อยๆ

คุณอาจจะคิดว่า “เห้ย แบบนี้โรงเรียนแพทย์ก็อยากให้นักเรียนสอบตกไปเรื่อยๆเพื่อเอาเงินน่ะสิ”

เปล่าเลยครับ โรงเรียนแพทย์ได้เงินจากการลงทะเบียนเรียนก็จริง แต่จะได้ชื่อเสียงเมื่อนักเรียนแพทย์เรียนจบครับ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ฟิลิปปินส์จะมีระบบของการย้ายมหาวิทยาลัยด้วยครับ คือ ถ้าเรียนๆไปแล้วนักเรียนแพทย์รู้สึกว่าที่นี่ไม่ดี อยากเปลี่ยนที่เรียน ก็สามารถทำเรื่องขอย้ายได้ (ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยมากกับนักเรียนแพทย์ไทยที่ฟิลิปปินส์ครับ)

เพราะฉะนั้น การจะสอบตก หรือสอบผ่าน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับโรงเรียนแพทย์เลยครับ เขาแฮปปี้ทั้งนั้นแหละ

ทุกอย่างมันอยู่ที่นักเรียนแพทย์อย่างเดียวเท่านั้น

เข้าเรียนได้ง่าย ไม่ได้แปลว่าจะเรียนจบได้ง่ายนะครับ

แล้วเมื่อคุณเรียนจบ ก็ยังต้องมาผ่านด่านการสอบใบประกอบวิชาชีพของไทย เพื่อให้ได้เป็นหมอที่ไทยอีก ซึ่งอันนี้ไม่ต้องบอกก็คงรู้ใช่ไหมครับ ว่ามันมาตรฐานเดียวกันกับนักเรียนแพทย์ที่เรียนที่ไทยจากมหาวิทยาลัยดังๆของเราทั้งหลายนั่นแหละครับ กว่าจะได้เป็นแพทย์จริงๆมีบททดสอบหฤโหดมากมาย   แพทย์ไทยที่จบจากฟิลิปปินส์จึงไม่มีทางจะด้อยไปกว่าแพทย์ที่จบจากไทยแน่นอน

สนใจเรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์จะเริ่มต้นยังไง?

อ่านมาถึงตรงนี้ น่าจะพอเห็นภาพแล้วใช่ไหมครับว่าโอกาสเรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์มันเปิดกว้างจริงๆ และใครๆก็เป็นหมอได้

ปัญหาอย่างเดียว คือ

กระบวนการในการสมัครเรียนมันค่อนข้างจะยุ่งยากและล้าหลังบ้านเราพอสมควร

จะสมัครเรียนแพทย์ก็ว่ายุ่งยากแล้ว เป็นนักเรียนต่างชาติด้วย ยิ่งซับซ้อนเข้าไปใหญ่ ผมจะเล่าขั้นตอนอย่างสรุปๆให้ฟังครับ

เมื่อคุณตั้งใจแล้วว่าจะไปเรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์ คุณจะต้องยื่นเอกสารให้กับโรงเรียนแพทย์ที่อยากไปเรียน เพื่อให้เขาส่งใบตอบรับ (Notice of Acctectance) กลับมาให้ ขั้นตอนนี้จะลำบากหน่อย เพราะต้องบินไปที่ฟิลิปปินส์เพื่อยื่นเอกสาร และต้องรอให้โรงเรียนแพทย์ดำเนินการออกใบตอบรับ ซึ่งจะเร็วจะช้า ขึ้นอยู่กับแต่ละที่ (โดยส่วนมากก็มีตั้งแต่ 3 วัน 7 วัน ไปจนถึง 1 เดือนเลยครับ)

ไหนๆคุณก็อุตส่าห์เดินทางไปยื่นเอกสารถึงฟิลิปปินส์แล้ว คุณก็น่าจะขอรูปแบบชุดนักเรียนกลับมาด้วยเลยนะครับ เพื่อจะได้มาตัดชุดนักเรียนรอ นักเรียนไทยส่วนมากจะตัดชุดนักเรียนที่ไทย เพราะคุณภาพเนื้อผ้าดีกว่าในราคาที่ถูกกว่าครับ

จากนั้น คุณก็ต้องนำเอกสารไปยื่นขอรับรองหลักสูตรกับแพทยสภา

เอาล่ะ คุณเตรียมเอกสารจากประเทศไทยพร้อมแล้ว ต่อมาก็แค่รอถึงวันใกล้ๆจะเปิดเทอม เพื่อเดินทางไปสมัครและลงทะเบียนเรียน

คุณต้องไม่ลืมที่จะหาโรงแรมที่พักชั่วคราวก่อนเดินทางไปนะครับ เพราะคุณคงจะต้องใช้เวลาซักพักในการหาหอพักนักศึกษา

เมื่อไปถึง คุณก็ดำเนินการลงทะเบียนเรียนได้เลย ต้องบอกว่างานด้านเอกสารของที่ฟิลิปปินส์ล้าหลังพอสมควรครับ ทุกอย่างยังเป็นแบบเอกสารเป็นแผ่นๆ เก็บเข้าแฟ้มซ้อนๆกัน ต้องค้นชื่อ ต้องเขียน ต้องเซ็น และที่สำคัญ คุณจะต้องเดินจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เช่น ห้องลงทะเบียน ไปห้องอธิการ ไปห้องการเงิน กลับมาห้องลงทะเบียน วนๆไปทั้งวันตามที่เจ้าหน้าที่จะแจ้งล่ะครับ

เมื่อลงทะเบียนเสร็จ ขั้นต่อมาคือการยื่นเอกสารขอวีซ่านักเรียน ซึ่งจะมีเอกสารอีก 2 รายการที่คุณต้องไปดำเนินการขอจากสถานที่ราชการของฟิลิปปินส์ นั่นคือ Quarantine และ NBI Clearance

Quarantine คือ เอกสารที่ยืนยันว่าคุณไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง สามารถอยู่ในประเทศนี้เพื่อเรียนหนังสือได้ ก่อนจะขอเอกสารนี้ได้ คุณต้องตรวจร่างกายกับโรงพยาบาลที่ฟิลิปปินส์เสียก่อน (ปัจจุบัน การตรวจร่างกายควรทำที่ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อจะได้ตรวจได้ตรงกับที่ Quarantine ต้องการครับ เราจะได้รับรายการตรวจจากโรงเรียนแพทย์ของเรานั่นเองครับ)

NBI Clearance คือ การพิมพ์ประวัติอาชญากรรม เผื่อไว้ว่าคุณเกิดไปก่ออาชญากรรมขึ้น เขาจะได้รู้ว่าจะตามจับคุณได้ที่ไหนครับ (ล้อเล่นนะครับ แหะๆ) NBI Clearance จะใช้เวลาขอประมาณ 1 สัปดาห์ครับ

เอกสารครบดังนี้ ก็ยื่นขอวีซ่านักเรียนได้เลย ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ในระหว่างนี้ก็จัดการทำบัตรนักเรียนให้เรียบร้อย เตรียมเปิดเรียน และเรียนรอไปได้ไม่มีปัญหา

นอกเหนือจากเรื่องเอกสาร คุณก็จะต้องหาหอพัก และซื้อของใช้เบื้องต้น รวมถึงทำความเข้าใจกับระบบโทรศัพท์ และอินเตอร์เน็ตของฟิลิปปินส์ เพราะมันจะเป็นปัจจัยการดำรงชีวิตอันดับหนึ่งของคุณเลยล่ะครับ

พอทุกอย่างลงตัวตามนี้ คุณก็สบายใจได้ว่าพร้อมเปิดเรียนเต็มที่เรียบร้อยแล้ว

ทำไมมันยุ่งยากจัง?

ผมเห็นด้วยครับ อย่างที่บอกว่าระบบการจัดการต่างๆของประเทศฟิลิปปินส์ยังล้าหลังไทยอยู่พอสมควร ที่สำคัญ ลงทะเบียนเรียนว่ายากแล้ว เป็นนักเรียนต่างชาติยิ่งยากเข้าไปอีก

แต่ที่มันดูรายละเอียดยุบยิบเต็มไปหมดแบบนี้ เพราะมันคือการเตรียมตัวให้พร้อมที่สุด ประมาณว่าพอเปิดเรียนไปแล้วจะได้ไม่ต้องมากังวลเรื่องพวกนี้อีก

ผมแนะนำเป็นอย่างยิ่งครับ ว่าควรจะทำให้เรียบร้อย เพราะคุณกำลังจะไปเรียนหมอนะครับ เรียนแพทย์ไม่ใช่เรื่องง่าย คุณแทบจะต้องอ่านหนังสือทุกวันเลยล่ะ พอเริ่มเรียนไปแล้ว คุณไม่มีเวลาไปใส่ใจกับสิ่งอื่นนักหรอก

ที่จริงมีนักเรียนไทยหลายคนตัดสินใจไปเรียนโดยที่ไม่รู้รายละเอียดเหล่านี้ และค่อยๆไปเรียนรู้ทีละนิด ค่อยๆดำเนินการเอกสารทีละหน่อย ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไรนะครับ ที่จริงผมยังแอบชื่นชมในความเก่ง และความกล้าของพวกเขาด้วยซ้ำ แต่พวกเขาจะเหนื่อยพอสมควรเลยครับ เพราะต้องแบ่งโฟกัสจากการเรียนมาไล่ทำเอกสารไปด้วย

แต่ถ้าคุณอยากไปเรียนแพทย์ที่ฟิลิปปินส์ แบบไร้กังวล ไม่ต้องห่วงว่าความยุ่งยากทั้งหลายจะตามหลอกหลอนคุณไปจนเปิดเรียน จนคุณไม่สามารถโฟกัสการเรียนได้เต็มที่ Chance Education มีบริการดีๆให้คุณครับ

Chance Education บริการสมัครเรียนแพทย์ครบวงจร

ตั้งแต่เริ่มต้นจนพร้อมเปิดเรียน

ถ้าคุณสนใจสมัครเรียนแพทย์กับเรา

คลิกที่เครื่องหมายด้านล่างนี้เพื่อดูรายละเอียดได้เลยครับ

ถ้าผมยังตอบคำถามคุณไม่ได้ครบถ้วน

คลิกที่เครื่องหมายด้านล่างนี้ เพื่อดูคำถามที่พบบ่อยครับ

หรือถ้าคุณอยากรู้จักเรามากขึ้น

คลิกที่โลโก้ด้านล่างนี้เลยครับ

Chance Education Co.,Ltd.

ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ

กรุงเทพมหานคร 10140

Contact

Tel. 081-9742279, 096-1388272, 080-6389838

Connect

      

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายบน Social Media

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ ที่มีอยู่บน Social Media เพื่อให้ผมสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้ตรงกับความเหมาะสม และความสนใจของคุณได้ครับ หากคุณไม่ยินยอมให้ใช้คุกกี้นี้ ผมจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหา และโฆษณาได้ตรงตามความสนใจไปให้กับคุณบน Social Media ช่องทางต่างๆได้

Save